วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่1-6


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ คือ การทำงานเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศอย่างเป็นลำดับขั้นตอนจนทำให้เกิดระบบสารสนเทศ
 ความหมายและลักษณะ
             ข้อมูล ( Data ) ข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ข้อความ  ตัวเลข รูปภาพและ เสียงสารสนเทศ ( Information ) ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศ ( Information System ) คือ กระบวนการรวบรวม บันทึก ประมวลผลข้อมูลใหเป้นระบบสารสนเทศ
กระบวนการทำงาน
1.การนำข้อมูลเข้า  ( Input ) เป็นข้อมูลดิบที่ได้จากการเก็บรวบรวม เข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ
2.การประมวลผลข้อมูล ( Process )  เป็นการคิด คำนวณ หรือดัดแปลงข้อมูลดิบให้เป็น
3.การแสดงผล ( Output )  เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ
4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงนำไปประมวลผล หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลก็ต้องจัดเก็บเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับสารสนเทศเทศในอนาคตโดยวัตถุประสงค์ก็ คือ การนำกลับมาใหม่ในอนาคตนั่นเอง







หน่วยการเรียนรู้ที่2 คอมพิวเตอร์ 

             คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือที่ใช้ประมวลผลข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น4 หน่วย คือ 1.หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่ รับข้อมูลไปแปลงเป็นรูปแบบต่างๆ แล้วส่งไปยังหน่วยความจำ เพื่อนำไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลาง
2.หน่วยประมวลผลกลาง(CPU) จัดเป็นสมองของระบบสารสนเทศ ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่ง ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย2ส่วน คือ
-หน่วยควบคุม ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน -หน่วยคำนวณและตรรกะ เปรียบเทียบ ค่าของข้อมูลทางตรรกศาสตร์
 3.หน่วยความจำ
 -หน่วยความจำหลัก
 -หน่วยความจำสำรอง

 4.หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่ แสดงผลให้ผู้ใช้งาน

 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 5 ส่วน 
1.ฮาร์ดแวร์(เครื่องมือทั้งหมดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) 

1.แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก แบ่งเป็น 4 กลุ่ม แป้นตัวอักษร แป้นตัวเลข แป้นคำสั่ง และแป้นลูกศร 
  •  PDA มีสายใช้ต่อกับเครื่อง 
  •  Wireless keyboard เชื่อมต่อแบบไร้สาย 
  •  Ergonomic keyboard เหมาะกับสรีระของมือ เพื่อแก้ปัญหาของโรค  

2.เมาส์(ควบคุมตัวชี้) ทำหน้าที่รับข้อมูล โดดยจะรับข้อมูลผ่านคำสั่งการคลิก 

 รูปแบบของเมาส์ 
  • แบบกลไก การเคลื่อนที่ของตัวชี้ จะขึ้นอยู่กับลูกยางใต้เมาส์ ภายใต้มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 
  •  แบบไร้สาย รับส่งข้อมูลผ่านสัญญาณอินฟาเรด 
  •  แบบใช้แสงอินฟาเรด อ่ายค่าจากแสงอินฟาเรดที่ไปกระทบพื้น ภายในจะมีตัวปรับแสงไปแปลงเป็นสัฐฐาณดิจิทัลอีกที 


 3.สแกนเนอร์ สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สแกนเนอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท

 1.ออพติคัลสแกนเนอร์ สำหรับนำเข้าข้อมูลรูปภาพ 
  • สแกนเนอร์ระนาบ 
  • สแกนเนอร์แบบปากกา 
  • สแกนเนอร์แบบดึงกระดาษ
  • สแกนเนอร์แบบดัม 


 2.ออพติคัลรีดดเดอร์ 
  • สแกนเนอร์ที่ใช้กับสัญลักษณ์ 
  • สแกนเนอร์ที่ใช้กับเครื่องหมาย
  • สแกนเนอร์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่พิมพ์ด้วยหมึก 
  • สแกนเนอร์ที่ใช้อ่านบาร์โค้ด 



 4.กล้องวิดีโอดิจิทัล รับข้อมูลประเภทเคลื่อนไหว ซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง จอภาพของตัวกล้อง สามารถเชื่อมต่อกับ จอภาพของคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ได้ 



 5.กล้องวิดีโอพีซี ถ่ายทอดภาพเคลื่อไหวของคู่สนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เวลาใช้ต้องใช้สายเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ทำให้เป็นเว็บแคม 


 6.การ์ดแสดงผล เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า การ์ดจอ ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทอล ไปเป็นสัญญาณแอนาล็อก 




 7.การ์ดเสียง ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียงมาประมวลเป็นสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งไปยังลำโพง หูฟัง 



 8.การ์ดเครือข่าย ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตร์กับอาร์ดแวร์ตัวอื่นๆ ปัจจุบัน นิยมใช้ที่มีช่องเสียบ ยูเอสบี 

 9.เมนบอร์ด เป็นแผงที่ติดอุปกรณือิเล็กทรอนิกน์หลายๆชิ้นเข้าด้วยกัน 



 10.ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล ได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น Hard Disk จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ 

11.จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะ แบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตา 

12.ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ คอมพิวเตอร์แล้วทำให้เกิดเสียง 

 13.เครื่องพิมพ์ แสดงผลข้อมูลในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 

 14.แฟรชไดรฟ์ จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล พกพาได้สะดวก น้ำหนักเบา และเป็นที่นิยมมาก 

 15.เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เอาไว้ภายใน เช่น แผงวงจรหลัก ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล ลักษณะของเคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง ขนาด สี และรูปร่างลักษณะภายนอกมีความหลากหลายมาก 



 2.โปรแกรมชุดคำสั่ง(ซอฟแวร์) ซอฟต์แวร์ (software) 
หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ 
        ซอฟต์แวร์แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) 
  •  ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ 
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ 
ตัวอย่างซอฟแวร์
  • ไมโครซอฟต์วินโดวส์เอ็กซ์พี

  • ลินุกซ์ adobe 

  • photoshop

 3.ข้อมูล คือ ข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล หรือผ่านการประมวลผลแล้ว เมื่อนำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แล้ว จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบดิจิทัล
     ชนิดข้อมูล 
  •  เลขจำนวนเต็ม 
  • ค่าตรรกะ 
  • ตัวอักษร 
  • ลายอักขระ 
  • เลขจำนวนจริง 
  • วันและ เวลา 
 รูปแบบของแฟ้มข้อมูล
 แฟ้มข้อมูลจะถูกแบ่งเป็น2ข้อมูล 
  •  แฟ้มแฟ้มหลัก (Master File) คือ เป็นการเปลี่ยนแปลง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น แฟ้มหลักขอมูลเงินเดือนพนักงาน และแฟ้มหลักข้อมูลลูกค้า 
  •  แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง(trasaction file) คือ เป็นแปฟ้มที่เกิดจากการจัดเก็บข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแฟ้ม หลัก ด้สยการรวบรวมข้อมูลไว้ในระยะเวลาหนึ่ง ทั้งเพื่อประโยชน์ใน้นต่างๆ เช่น การเพิ่มรนะเบียนข้อมูลใหม่ การลบหรือแก้ไขข้อมูลในระเบียนข้อมูลที่มีอยู่แล้ว 
ประเภทของแฟ้มข้อมูล
  •  แฟ้มข้อมูล (file) เป็นแฟ้มที่จัดเก็บหรือบันทึกโดยแฟ้มโฑปรแกรม ซึ่งจะมีส่วนขยาย(file extension) เป็นตัวตัวบิกประเภท เช่น เอกสารที่สร้างด้วย Microsoft word 
  •  แฟ้มโปรแกรม (program file) เป็นแฟ้มที่จัดเก็บคำสั่งต่างๆ ที่ใช้เพื่อการประมวลผล ซึ่งเขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ 
4.ผู้ใช้ คือ บุคคลหรือ กลุ่มบุคคลที่ใช้งานใต้การควบคุม และดูแลคอมพิวเตอร์ ผู้ใชที่ดีควรมีความรู้เรื่องในการใช้คอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้



  • ผู้ใช้งานตามบ้าน คือ ผู้ใช้งานทั่วไป มักใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถภาพต่ำ โดยจะรับรองผู้ใช้คนเดียว หรือสมาชิกภายในบ้าน มุ่งเน้นไปในด้านความบันเทิง 

  •  ผู้ใช้สำนักงานเล็ก มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ไม่เกิน 50 คน จึงเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ เครือข่ายขนาดเล็ก เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกันช่วยในการประหยัดพลังงานมากขึ้น 


  •  ผู้ใช้งานตามความคล่องตัว นิยมใช้เทคโนโลยีไร้สาย เพื่อส่งเสริมความคล่องตัวในการทำงานมักเป็นนักธุรกิจ หรือ นักศึกษา ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์จึงต้องมีความคล่องตัว มีน้ำหนักเบา และพกพาสะดวก 

  •  ผู้ใช้สำนักงานขนาดขนาดใหญ่ 




  • ผู้ใช้สำนักงานสมรรถนะสูง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เวิร์กสเตชั่น 


 5.กระบวนการ คือ ขั้นตอนและ การทำงาน การทำงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานจนได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ในบางครั้งอาจต้องใช้มากวก่า 1 กระบวนการเพื่อ ให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ 
ตัวอย่างในการทำกระบวนการ 
 1. ผู้ใช้ศึกษาวิธีการใช้หรือวิธีการทำงาน 
2.ผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ 
3.เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดซอฟแวร์ระบบปฎิบัติงาน 
4.ผู้ใช้เลือกใช้ซอฟแวร์ประยุกต์ในการทำงาน 
5.ผู้ใช้ป้อนข้อมูลด้วยฮาร์ดแวร์ในหน่วยรับข้อมูล 
6.หน่วยรับข้อมูลส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผล 
7.หน่วยประมวลผลทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งของซอฟแวร์ที่ผู้ใช้เลือก 
8.หน่วยประมวลผลส่งสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผลแล้วไปยังหน่วยแสดงผล 
9.ผู้ใช้วิเคราะห์สารสนเทศจากการประมวลผลแล้วไปยังหน่วยแสดผล 
10.ผู้ใช้บันทึกสารสนเทศที่ต้องการลงในหน่วยความจำสำรอง




หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง อินเทอร์เน็ต

            อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ(Public) ผู้ใช้นิยมนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อไปยังModem เพื่อแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านสายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มที่เชื่อมต่อกับไอเอสพี(ISP:Internet Service Provider) ซึ่ง ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้บริการในประเทศแต่ละเครื่องเข้าด้วยกัน แล้วจึงเชื่อมตัวกับระบบเครือข่ายจากทั่วโลกอีกทีหนึ่ง
                ในการเข้าแต่ละเว็ปไซต์จะต้องพิมพ์ยูอาร์แอลของแต่ละเว็ปไซต์ลงไปในแอดเดรสบาร์ โดยมีหมายเลขไอพี เป็นตัวเลข 4 ชุด มีจุดคั่นเลขแต่ละชุด  โดยเลขแต่ละชุดจะมีค่าอยู่ระหว่าง0-255 เช่น 152.168.03.15 แต่เนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก จึงมีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทน เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน เช่น www.google.co.th โดย www. คือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ saim คือ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น co คือ ชื่อโดเมนย่อย th คือ รหัสประเทศ
การสืบค้นข้อมูล
         เสิร์ชเอนจิ้น (Search Engines) คือ เครื่องมือที่ช่วยเหลือผู้ใช้งานในการค้นหาข้อมูลต่างๆบนอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ที่เปิดให้บริการ เรียกว่า เสิร์ชเอนจิ้นไซต์(Search Engine Site) มีหลักการทำงานโดยการรวบรวมเอกสารเว็บไซต์ เพื่อ สำรวจเว็บไซต์จากโดเมนต่างๆ แล้วรวบรวมเป็นฐานข้อมูล จัดเป็นรายการดัชนีตามที่ผู้สร่างกำหนด หากมีเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงก็จะทำการเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ โดยสามารถแบ่งตามลักษณะฐานข้อมูลออกเป็น 5 ประเภท
1.การค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ เป็นการค้นหาข้อมูลโดยสำรวจข้อความเบื้องต้นของเว็บไซต์ หากตรงกับคำที่ค้นหาก็จะแสดงข้อมูล แสดงได้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่ละเอียด
2.การค้นหาข้อมูลจากหมวดหมู่ เป็นค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ผ่านการวิเคราะห์รายละเอียดของเนื้อหา โดยแยกประเภทเป็นหมวดหมู่ตามวิจารณญาณของผู้สร้าง ช้ากว่าการหาจากคำสำคัญ แต่ตรงตามความต้องการ
3.การค้นหาข้อมูลจากเสิร์ชเอนจิ้นหลายๆเว็บไซต์ เป็นการค้นหาจากการเข้าถึงเว็บไซต์ ที่มีข้อมูลที่ค้นหามาแทนที่โดยตรง ไม่จัดเป็นเสิร์ชเอนจิ้นที่แท้จริง เพราะไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง
4.การค้นหาข้อมูลจากภาษาธรรมชาติ เป็นการพัฒนาเสิร์ชเอนจิ้นให้เข้าใจภาษาธรรมชาติหรือคำถามจากมนุษย์เพิ่มเติมจากการใช้คำสำคัญ
 5.การค้นหาข้อมูลเฉพาะทาง สร้างขึ้นเพื่อค้นหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะนำเสนอเฉพาะข้อมูลที่กำหนดไว้เท่านั้น ผู้ให้บริการมักเป็นหน่วยงานหรือองค์กรเฉพาะด้านนั้นๆ ข้อมูลที่ได้จะไม่ได้มาจากเสิร์ชเอนจิ้นอื่น

เทคนิคการค้นหาข้อมูล
เสิร์ชเอนจิ้น-ควรค้นหาจากเสิร์ชเอนจิ้นมากกว่า 1 เว็บไซต์ในช่วงเวลาที่ต่างกัน
วิธีการใช้งาน-ควรศึกษาการใช้งานเสิร์ชเอนจิ้น เพื่อให้สามารถกำหนดค่าของการค้นหาได้ตรงต่อความต้องการมากที่สุด
หัวข้อที่ต้องการ-ควรกำหนดสิ่งที่ต้องการหาให้ชัดเจน
คำสำคัญในการค้นหา-ควรกำหนดคำสำคัญเป็นคำนาม ศัพท์ทางวิชาการ หรือศัพท์ที่ใช้ทั่วไป และหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูดในการค้นหา และ ไม่ควรกำหนดคำสำคัญที่มีความหมายกว้างเกินไป
การค้นหา-ควรค้นหาข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกำคำสำคัญด้วย
คำสำคัญที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ คำที่มีตัวเลข หรือ เว้นวรรค  หากจำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย “ ”ครอบคำสำคัญนั้นไว้เพื่อรวมคำในเครื่องหมายให้เป็นคำเดียวกัน
การใช้เครื่องหมาย  เติมเครื่องหมายหน้าคำสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา เช่น
เครื่องหมาย + เมื่อต้องการให้ค้นหาคำสำคัญอื่นๆเพิ่มเติม
เครื่องหมาย – เมื่อไม่ต้องการให้คำสำคัญนั้นอยู่ในข้อมูลที่ค้นหา
เครื่องหมาย * แทนกลุ่มคำหรือประโยคที่ผู้ใช้ไม่เฉพาะเจาะจง
เครื่องหมาย ~ เพื่อแทนคำสำคัญที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
ตัวกระทำตรรกศาสตร์ ควรเลือกใช้ตัวกระทำทางตรรกศาสตร์เชื่อมคำสำคัญ 2 คำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.ควรระลึกเสมอว่าผู้ใช้งานทุกคนในอินเทอร์เน็ตคือมนุษย์ มีอารมณ์และความรู้สึก
2.ควรยึดมารยาทปกติทั่วไปในการดำเนินชีวิต
3.ควรระลึกไว้เสมอว่าไม่มีความลับใดในอินเทอร์เน็ต
4.ควรศึกษาหลักการปฏิบัติหรือกฎข้อบังคับของการใช้อินเทอร์เน็ต
5.ควรคำนึงถึงคุณภาพของข้อมูลที่ส่งไปยังอินเทอร์เน็ตว่ามีประโยชน์หรือคุณค่าหรือไม่
6.ควรเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย ถูกกาลเทศะ
7.ควรใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ
8.ไม่ส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกหรือการทะเลาะวิวาทในอินเทอร์เน็ต
9.ควรใช้ข้อมูลตนเองในการเชื่อมต่อ
10.ไม่ใช้ความรู้ ความสามารถ หรืออำนาจทางการทำงานในทางที่ผิด
11.ใช้ข้อมูล ความรู้ และคำแนะนำให้เป็นประโยชน์
12.ควรใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์คุณค่ามากที่สุด
13.การนำข้อมูลมาก ควรมีการอ้างอิงแหล่งที่มา
14.หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นในแง่ลบ
15.ไม่ควรนำความลับของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อสนทนาในอินเทอร์เน็ต
16.ไม่ส่งของความหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์รบกวน
17.ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จะต้องใช้ภาษาที่สุภาพและเป็นทางการ
18.ไม่เผยแพร่หรือโฆษณาเกินความจริง
19.ไม่นำเสนอหรือส่งเสริมการค้าผิดกฎหมาย
20.ไม่เผยแพร่โปรแกรมหรือไวรัสคอมพิวเตอร์
21.การแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตจะต้องมีความรู้ และใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
22.การสื่อสารข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ควรติดต่อกลับการสนทนาให้เร็วที่สุด
23.ไม่ควรแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
24.การตั้งกระทู้ในอินเทอร์เน็ตจะต้องรับผิดชอบกระทู้ของตน
25.ใช้อินเทอร์เน็ตโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้อื่น


หน่วยการเรียนรู้ที่5 โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์
โครง งานคอมพิวเตอร์ คือ ภาระ ชิ้นงาน หรือกิจกรรมอิสระที่ผู้ทำงานด้านคอมพิวเตอร์สามารถเลือกศึกษาหรือดำเนินการ ตามความสนใจ โดยใช้ความรู้ทักษะ และประสบการณ์ของผู้ทำโครงงาน

องค์ประกอบหลักของภาระ ชิ้นงาน หรือกิจกรรมที่จัดเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์  มีดังนี้
1 มีกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3 มีการปฏิบัติงานตามความสามารถของผู้ทำโครงงาน
4 มีการวางแผน การสรุป และการเสนอผลงาน
            โครงงานคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ทำโครงงาน สังคมและประเทศชาติเนื่องจากช่วยสร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบ เปิดโอกาสให้แก่ผู้ทำโครงงานนำเสนอความคิดและความสามารถของตนเอง ช่วยกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าและการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมการจัดสรรเวลา เสริมสร้างความสัมพันธ์ในวงการคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมให้เกิดความสนใจในวงการคอมพิวเตอร์ และการบูรณาการความรู้ทั้งหมดของผู้ทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์  แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานได้ 5  ประเภท
1. โครงงานคอมพิวเตอร์ด้านการศึกษา  เป็นรูปแบบสื่อเพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านการศึกษา
2.โคนงงานคอมพิวเตอร์ด้านการศึกษา
3.โครงงานคอมพิวเตอร์ด้านการทดลองทฤษฎี
4.โครงงานคอมพิวเตอร์ด้านการประยุกต์ใช้งาน
5.โครงงานคอมพิวเตอร์ด้านเกม


หน่วยการเรียนรู้ที่6 จริยธรรมและความปลอดภัย

จริยธรรมและพระราชบัญญัติฯ คอมพิวเตอร์
  จริยธรรมในที่นี้หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่ใช้ควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์สารสนเทศ เพื่อการกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดต่อผู้อื่น การกระทำความผิด เช่น การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ การโฆษณาเกินความจริง กล่าวพาดพิงผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต  และการกระทำความผิดเหล่านี้ไม่มีไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่เกิดจากจิตใต้สำนึกของบุคคลมากกว่า ปัจจุบันได่มีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยสามารถสรุปลักษณะการกระทำความผิดและบทลงโทษไว้ ดังนี้
  • มาตรา 1-4 กล่าวถึง ข้อกำหนดการใช้และความหมายของคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติฯคอมพิวเตอร์
  • มาตรา 5-7 เป็นมาตราที่เกี่ยวกับบุคคลทั่วไป สรุปได้ดังนี้
                 มาตรา5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                 
                 มาตรา6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


                  มาตรา7  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ


                  มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


               
                  มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                   มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                   
                   มาตรา 11ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท                   
                   

                   มาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
(1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

                  มาตรา 13  ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา6 มาตรา7  มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                  มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                  มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14

                  มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


                 มาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(1) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(2) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร




  • มาตรา 18-30 อยู่ในหมวด 2 พนักงานและเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน สอบสวน และข้อกำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการต่อผู้กระทำความผิด
       





อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คือ การกระทำความผิดทางอาญาโดย

ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือมีลักษณะ ดังนี้


          ลักษณะการกระทำความผิด แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ


1.การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ คือ การเข้าใช้ระบบคอมพิวเติร์โดยไม่ได้รับอนุญาต


สามารถแบ่งได้ดังนี้


    1.1เจาระระบบ เพื่อทำลายหรือเปลี่ยนแปลงส่งผลก่อให้เกิดการทำความผิดด้านอื่นๆเช่น ฉ้อโกงหรือ

ปลอมแปลงเอกสาร

    1.2 การลักลอบดักข้อมูล ใช้เทคนิคหรืออุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อลอบดักฟัง ตรวจสอบ 

หรือติดตามข้อมูลที่ สื่อสารระหว่างบุคคล

    1.3 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเกิดความเสียหายต่อระบบคอมหรือข้อมูลของผู้อื่น มักใช้


ไวรัสเข้าสู่ระบบคอมอื่นๆ


    1.4 การใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ กระทำความผิดด้วยการผลิต แจกจ่าย จำหน่าย หรือส่งเสริมกระทำ


ความผิด
2.การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบอาชญากรรมทุกรูปแบบ บางประเทศ


แก้ไขกฎหมายอาญาเดิมแต่ในไทยได้ใช้บทลงโทษคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยว


กับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 

3.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิดในด้านต่างๆแบ่งความผิดได้ 3 


ลักษณะ


       3.1 ปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีผลตั้งแต่การป้อนข้อมูลเท็จรวมถึงลบหรือย้ายข้อมูล ทำให้


ข้อมูลนั้นผิดไปจากต้นฉบับ

       3.2 ฉ้อโกง เจตนาเพื่อทุจริตจะเกิดประโยชน์ในลักษณะทรัพย์สิน
       3.3ทำให้สื่ออนาจารเผยแพร่ กระทำความผิดโดยทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ปรากฎแก่ผู้อื่นด้วยการผลิต


ส่งผ่าน จัดให้ได้มาหรือทำให้เผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์




      ลักษณะผู้กระทำความผิด ผู้กระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีทั้งแบบเจตนา และผู้ที่มีเจตนาทำเพื่อให้ได้ทรัพสินของผู้อื่น จึงสามารถแบ่งลักษณะของผู้กระทำความผิดได้ดังนี้ 


  1. มือสมัครเล่น มักกระทำเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น คึกคะนอง มักเป็นพวกเด็กหัดใหม่ หรือผู้เริ่ม โดยไม่มีเจตนาร้ายต่อผู้ใด อาชญากรรมประเภทนี้มักทำให้เกิดความรำคาญมากกว่า แต่อย่างไรก้ตามอาจจะพัฒนาไปเป็นแคร๊กเอร์หรือ อาชญากรมืออาชีพ
  2. แคร๊กเกอร์ คือผู้บุกรุกที่เข้าไปรบกวนระบบคอมพิวเอร์ผู้อื่นโดยการสร้างความเสียหาย อาจหมายถึงอาชญากรหลายๆรูปแบบ หรือเป็นพวกผิดปกติ ที่ชอบความรุนแรงเป็นอันตรายต่อผู้อื่น Danger person
  3. อาชญากรมืออาชีพ คือ พวกที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์สูงมาก มีอุปกรณืและเทคโนโลยีเพียบพร้อม มีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สิน โจรกรรมข้อมูลที่เป็นความลับเพื่อนำไปขาย และหลอกลวงด้วยข้อมูลเท็จ 









แนวทางการป้องกัน สามารถป้องกันได้ 4 แนวทาง ดังนี้

  • ป้องกันข้อมูลส่วนตัว โดยการตั้งค่ารหัสเข้าข้อมูลที่ต้องการป้องกัน ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด

  • การป้องกันการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ คือการป้องกันผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งโดยตรงและผ่านเครือข่าย ทำได้หลายวิธี 
  1. การใช้ Username หรือUser ID และ Password ทั้งนี้การตั้งรหัสไม่ควรใช้วันเกิด หรือ ตัวเลขที่สามารถคาดเดาได้ 

2.การใช้เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ในการเข้าสู่ระบบ เช่นการใช้สมาร์ทการ์ด


3.การใช้อุปกรณืทางชีวภาพ เป็นการตรวจสอบลักษณะของบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ม่านตา


  • การสำรองข้อมูล ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรเก็บข้อมูลสำรองไว้ ไม่เก็บไว้ในที่ๆเดียวกันกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำการ backup disks 


  • การติดตั้งโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีที่แพร่หลายที่สุด ควรติดตั้งโปรแกรมกำจัดไวรัส อย่างน้อย 2 โปรแกรม ต่อ1 เครื่อง เพื่อให้ป้องกันไวรัสได้อย่างทั่วถึง และควรอัพเดตโปรแกรมกำจัดไวรัส อย่างสม่ำเสมอ





...................................................................................................................................................................................


จัดทำโดย 
น.ส.วรรัตน์    ทิมละม่อม   เลขที่ 38

น.ส.ศุจินธร     สำราญศิริกุล   เลขที่ 39

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/4
kaimook





Tarn&Roong